Last updated: 12 ธ.ค. 2560 | 7868 จำนวนผู้เข้าชม |
การจัดงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 13 “ลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน” (Invest for Sustainable Road Safety) ระหว่างวันที่ 6-7 ธันวาคม 2560 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร
ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย (มนป.) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนมาอย่างต่อเนื่อง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งถือเป็นการประสานคนทำงานในระดับปฏิบัติการ จึงกำหนดให้มีการสัมมนาระดับชาติ เรื่องความปลอดภัยทางถนน ขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้ผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ทราบนโยบายของรัฐบาลในการดำเนินงานด้านป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน และมีส่วนร่วมเสนอนโยบายสาธารณะ รวมทั้งแนวทางการบูรณาการในการดำเนินงาน เพื่อให้จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้นำความรู้ แนวทาง และรูปแบบการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ไปเผยแพร่และปฏิบัติให้เหมาะสมกับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง โดยมีความมุ่งหวังที่จะให้เกิดรูปธรรมในการทำงานที่จริงจังและมีประสิทธิภาพ และถือเป็นการเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนได้เห็นถึงปัญหาดังกล่าว การดำเนินการที่ผ่านมามีผู้สนใจเข้าร่วมงานเฉลี่ยครั้งละ 2,000 คน ที่มาจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และท้องถิ่น ผลสรุปที่ได้จากแบบสำรวจผู้เข้าร่วมสัมมนา (Poll) ครั้งที่ 12 พบว่าอยากให้มีการจัดงานอย่างต่อเนื่องทุกๆ 2 ปี เพราะเป็นงานสัมมนาที่รวบรวมผลงาน องค์ความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในหลายมิติจากภาคีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศไว้ได้มากที่สุด
สำหรับปี 2560 นี้ ได้กำหนดให้มีการจัดงานสัมมนาระดับชาติ เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 13 ภายใต้แนวคิด ""ลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน"" (Invest for Sustainable Road Safety) ซึ่งมีแนวคิดที่สะท้อนมาจากการประชุมรัฐมนตรีและคณะผู้แทนระดับสูงของประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติวาระที่ 2: Time for Results และการประชุม Safety 2016 World Conference ภายใต้หัวข้อ From Research to Implementation โดยมุ่งเน้นการจัดการความรู้และเครื่องมือต่างๆ ให้เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจนและยั่งยืน
ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นการจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนน จากการที่รัฐบาลกำหนดให้อุบัติเหตุทางถนนเป็น “วาระแห่งชาติ” และเข้าร่วมกับองค์การสหประชาชาติ ที่ประกาศให้ พ.ศ. 2554 – 2563 เป็น “ทศวรรษเพื่อความปลอดภัยทางถนน” ตามแนวทาง 5 เสาหลัก (5 pillars) โดยดำเนินงานผ่านโครงสร้างศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ประกอบกับรัฐบาลและหน่วยงานหลัก ได้มีนโยบายและมาตรการต่างๆ เช่น ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีที่เน้นการทำงาน “ต่อเนื่อง ตลอดทั้งปี” ให้รองนายกฯ พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย นำกลไก “ประชารัฐ” เป็นหลักบูรณาการขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหา รวมทั้ง นโยบาย Safety Thailand ที่เน้นความร่วมมือ 6 กระทรวงสำคัญที่จะสร้างความปลอดภัย นอกจากนี้ ยังมีข้อสั่งการรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในฐานะประธานกรรมการนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ (นปถ.) ให้ทุกจังหวัดกำหนดเป็น “วาระจังหวัด” โดยใช้กลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด (ศปถ.จังหวัด) ในการดำเนินการ
ยิ่งไปกว่านั้น หน่วยงานหลักยังได้หยิบยกเรื่องความปลอดภัยทางถนนมาเป็นวาระสำคัญ อาทิ กระทรวงคมนาคม กำหนดให้ปี พ.ศ.2560 เป็น “ปีคมนาคมปลอดภัย” มีนโยบาย มาตรการและการติดตามเพื่อให้ทุกหน่วยงานดำเนินงานด้านนี้อย่างจริงจัง กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้เรื่องการบาดเจ็บจากการจราจร (road traffic injury: RTI) เป็นวาระสำคัญ พร้อมกำหนด 4 มาตรการหลักทั้งด้านการจัดการ ด้านข้อมูล ด้านป้องกันและด้านรักษาพยาบาลโดยเฉพาะด้านการจัดการและด้านข้อมูลที่กำหนดให้กลไกระดับจังหวัดและอำเภอเข้ามาเสริมด้านข้อมูลและการทำงาน ศปถ.อำเภอ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย (มนป.) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนมาอย่างต่อเนื่อง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งถือเป็นการประสานคนทำงานในระดับปฏิบัติการ จึงได้จัดให้มีการสัมมนาระดับชาติ เรื่องความปลอดภัยทางถนน ขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้ผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ทราบนโยบายของรัฐบาลในการดำเนินงานด้านป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน และมีส่วนร่วมเสนอนโยบายสาธารณะ รวมทั้งแนวทางการบูรณาการในการดำเนินงาน และในปี 2560 นี้ การจัดงานสัมมนาระดับชาติเรื่อง ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 13 ภายใต้แนวคิด “ลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน” (Invest for Sustainable Road Safety) มีแนวคิดที่สะท้อนมาจากการประชุมรัฐมนตรีและคณะผู้แทนระดับสูงของประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติวาระที่ 2: Time for Results และการประชุม Safety 2016 World Conference ภายใต้หัวข้อ From Research to Implementation โดยมุ่งเน้นการจัดการความรู้ให้เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจนและยั่งยืน
ที่มา : ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน | สมาคมสื่อช่อสะอาด | สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.)