ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

Last updated: 8 มิ.ย. 2564  |  2733 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เปิดทางให้โรงพยาบาลเอกชน ภาคเอกชน และท้องถิ่น จัดหาวัคซีนมาฉีดให้กับประชาชนได้เอง พร้อมกำหนดให้ใช้ 'หมอพร้อม' เป็นแพลตฟอร์มในการบริหารข้อมูลผู้ได้รับการฉีดวัคซีน

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ระบุสาระสำคัญตอนหนึ่งว่า เพื่อเร่งรัดให้การขับเคลื่อนการฉีดวัคซีนตามวาระแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ และประชาชนได้รับประโยชน์โดยเร็ว นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. โดยข้อเสนอของ ศบค. และคณะทำงานพิจารราจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด ได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการ ดังนี้

1. ให้จัดหาวัคซีนโควิดที่มีคุณภาพและมีจำนวนเพียงพอแก่ประชาชนอย่างน้อย 70% ของจำนวนประชากร หรือไม่น้อยกว่า 50 ล้านคน

2. ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประสานงาน ส่งเสริม และสนับสนุนผู้ผลิตัวคซีนป้องในการขึ้นทะเบียนวัคซีนให้เป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

3. ให้กรมควบคุมโรค องค์การเภสัชกรรม สถาบันวัคซีนแห่งชาติ สภากาชาดไทย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่และอำนาจในการให้บริการทางการแพทย์ หรือสาธารณสุขแก่ประชาน ร่วมมือกันจัดหา สั่ง หรือนำเข้าวัคซีนอย่างเร่งด่วน ภายใต้กฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือตามหลัเกณฑ์ที่หน่วยงานนั้นๆ กำหนด

4. เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนมากขึ้นสถานพยาบาลเอกชนและภาคเอกชน อาจจัดหาหรือขอรับการสนับสนุนวัคซีนจากหน่วยงานตามข้อ 3 เพื่อนำมาให้บริการประชาชนหรือบุคลากรในความดูแลได้ตามความเหมาะสม โดยต้องเป็นวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยา และต้องพิจารณากำหนดราคาวัคซีนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

5. โดยที่ปัจจุบันวัคซีนที่ผลิตหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรยังมีจำนวนจำกัด หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะจัดหาวัคซีนมาให้บริหารแก่ประชาชนในพื้นที่ ให้จัดหาจากหน่วยงานตามข้อ 3 และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหลักเกณฑ์หรือแผนการใช้จ่ายงบประมาณของ อปท. และต้องสอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่ ศบค.หรือนายกรัฐมนตรีกำหนด

การดำเนินการของ อปท.ในแต่ละพื้นที่ให้เป็ฯไปตามแนวทางหรืออยู่ภายใต้กำกับดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการจัดหาวัคซีนของ อปท.ที่มีศักยภาพด้านงบประมาณและรายได้ที่แตกต่างกัน และเพื่อให้กระจายวัคซีนในห้วงเวลาวิกฤติมีความเป็นธรรมมากที่สุด

ให้ อปท.สนับสนุนและให้ความสำคัญในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ในการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวมของประเทศ

6. ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทุกภาคส่วนเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลกับระบบแพลตฟอร์มหมอพร้อมของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของประชาชนที่ได้รับวัคซีน เพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบและประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้