"มานะ นิมิตรมงคล" ชี้ปัจจัยที่ทำให้คอร์รัปชันฝังรากลึกในสังคมไทย ด้าน "ต่อภัสสร์ ยมนาค" แนะสร้างเครื่องมือปราบโกง

Last updated: 9 เม.ย 2565  |  5366 จำนวนผู้เข้าชม  | 

"มานะ นิมิตรมงคล" ชี้ปัจจัยที่ทำให้คอร์รัปชันฝังรากลึกในสังคมไทย ด้าน "ต่อภัสสร์ ยมนาค" แนะสร้างเครื่องมือปราบโกง

การอภิปราย เรื่อง “การป้องกันการทุจริตในสังคมไทยและสังคมโลก" โดย ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และ ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565 เวลา 09.00 น. ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากรอภิปรายในหัวข้อ “การป้องกันการทุจริตในสังคมไทยและสังคมโลก" ให้แก่ ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร "นักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง" (นยปส.) รุ่นที่ 13 ณ สถาบันการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สัญญา ธรรมศักดิ์ ภายใต้สำนักงาน ป.ป.ช. ห้องนนทบุรี 1 อาคาร 4 ถนนนนทบุรี อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า การเรียนหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงเป็นเรื่องที่ดี เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างคอนเน็กชั่นแลกเปลี่ยนความรู้กัน ซึ่งมาตราการต่อต้านคอร์รัปชันมีเยอะมากแต่ไม่มีอะไรที่ตายตัว ต้องมีการบริหารจัดการให้เข้ากับสภาพสังคม การเมือง และอำนาจที่มีอยู่ในบ้านเมืองในช่วงนั้นๆ เพราะการกำหนดมาตราการต่อต้านคอร์รัปชันไม่ตายตัว และแก้ไขกฎหมายได้ ตามพระราชกฤษฎีกา การทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย ในปีที่ออกกฎหมายราวปี 2558 กฎหมายที่ออกในปีนั้นต้องได้รับการทบทวน เสนอให้มีการเปลี่ยนแปลง โดยหน่วยงานระดับกระทรวง ว่ามีอะไรต้องเปลี่ยนแปลงในปีนั้น แต่ไม่มีรัฐมนตรีกระทรวงไหนทำเลย ถือว่าผิดกฎหมายทั้งสิ้น กฎหมายทุกกระทรวงต้องได้รับการทบทวนทุกๆ 5 ปี ปีนี้ก็เช่นกัน

ในบริบทสากล มีการใช้มาตราการข้อตกลงคุณธรรม เขียนในกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างมูลค่าเกินหนึ่งพันล้านขึ้นไปต้องเปิดเผยให้ตัวแทนภาคประชาชน ทั้ง TOR การกำหนดราคากลาง แต่มีคนบอกใช้กับสังคมไทยไม่ได้ แต่ตอนนี้ใช้แล้วกว่าร้อยโครงการเป็นตัวเงินปีละประมาณ 17,000 ล้านบาทต่อปี แต่ก็ยังใช้ไม่เต็มรูปแบบการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น ราคากลาง จนถึงวันนี้ต่างประเทศบอกว่าราคากลางของประเทศไทยล้าสมัย เพราะเป็นราคาสูงสุดที่รัฐยอมจ่ายและภาคเอกชนยอมรับได้ ทุกหน่วยงานที่มาคุยกับไทยบอกยกเลิกเถอะ วันนี้คุยกับกรมบัญชีกลาง ถ้าไม่มีวันนี้ฉิบหายเลย ลองคุยกับสมาคมผู้ก่อสร้างอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย ต่างเห็นว่าราคากลางวันนี้เป็นเรื่องจำเป็น สิ่งที่มีอยู่ต้องยอมรับสอดคล้องกับความเป็นจริง

การทุจริตคอร์รัปชันหลักบ้านเรามี 4 เรื่องคือ 1.การจัดซื้อจัดจ้าง ปีที่แล้ว 5.11 ล้านบาท หรือ 50% ของงบประมาณประจำปี เป็นการคอร์รัปชันมหาศาล 2.การอนุญาตอนุมัติเกิดขึ้นทุกแห่งทั่วประเทศ กรุงเทพฯ ก็ตกในวงจรอุบาทก์นี้ ยกตัวอย่าง โรงงานแช่แข็งแห่งหนึ่งมีใบอนุญาตถึง 3 พันใบ , บิ๊กซี มีแผนกเบเกอรี่ มีขนมหลายรายการ ที่สาขาปากเกร็ด ต้องยื่นเรื่องขอ อย.ถึง 40 รายการ แล้วการยื่นเรื่องขออาหารและยามีปัญหาเยอะมากและทุกคนยอมก้มหัว คือการขออนุญาตสร้างบ้าน อาคาร 95% ต้องจ่ายสินบน หมู่บ้านจัดสรร 100% ต้องจ่ายเพื่อขออนุญาต ทุกแห่งทั่วประเทศ มากหรือน้อยต่างกัน แต่ต่างจังหวัดน้อยกว่าเพราะรู้จัก เห็นหน้ากัน แต่ในกรุงเทพฯ ไม่เห็นหน้าไม่รู้จักกัน เคยเจอใบเดียว 200 ล้านในการขออนุญาตทำโรงงาน เกิดจะอะไรขึ้น 3.การบริหารบุคคล 4.ผลประโยชน์ทับซ้อน ข้าราชการ 1 ใน 3 รู้เห็นการคอรัปชันทุกประเด็น แต่นั่งเฉยกันอยู่

ถ้าจะแก้ไขปัญหาจะแก้เรื่องไหน การแลือกผู้ว่า กทม. ขายฝันหมดเลย มีเพียง คุณวิโรจน์ พรรคก้าวไกล กับคุณรสนา เท่านั้น ที่มีนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน ปัญหาใหญ่ของ กทม. ที่คนมองข้ามคือการประมูลรถไฟฟ้าสายสีเขียว พรรคการเมืองหนึ่งยกก๊วนไม่เข้าประชุม ครม. มีปัญหาการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีการประมูลแลกเปลี่ยนมหาศาล ในปี 2562 มีการทำโครงการกำจัดขยะที่อ่อนนุช 8 พันกว่าล้าน มีการเผาและผลิตไฟฟ้า เข้ากรมบัญชีกลางไป 6-7 เดือน บอกมี พ.ร.บ. กำจัดขยะยกเว้นให้ ไม่ต้องเข้า พ.ร.บ. ข้อตกลงคุณธรรม

การคอร์รัปชันบ้านเราวันนี้พบปัญหา 3 อ. 1.มีอภิสิทธิ์ชนเยอะแยะ ล่าสุดคือการกระจายวัคซีนที่ไม่ทั่วถึง ที่บุรีรัมย์เทวัคซีนไป มีบันทึกการฉีดรายวัน เมื่อมีข่าวผ่านไปไม่กี่วันเวปไซต์นี้ถูกปิด เมื่อถูกแฉ นี่คือประเทศไทย แล้วเราจะต่อสู้ยังไง การมีอภิสิทธิ์ชน แปลว่ามีระบบอุปถัมภ์ในบ้านเราและไม่แปลกใจคลิปลับแรมโบ้ นี่คือระบบอุปถัมภ์ในประเทศไทย แล้วจะเอาผิดได้มั้ย บอกว่าล้อเล่น นาฬิกาของลูกเอามาใส่ ตลกไปมั้ยประเทศไทย การใช้ดุลยพินิจ เช่น ปิดเวปไซต์ เรื่องที่เปิดเผยในประเทศไทยจึงถูกปิด

อีกบริบทหนึ่ง เมื่อกล่าวถึงการคอร์รัปชัน อะไรเป็นสมบัติส่วนรวมก็ต้องเป็นของส่วนรวม เช่น ป่า โดนเอาไป มีงานวิจัยของ อ.ผาสุก พงศ์ไพจิตร 2 หัวข้อ และ อ.ธานี ชัยรัตน์ จุฬาฯ ประชาชน 87% รู้ว่าถ้ามีปัญหาจะวิ่งไปจ่ายใคร สินบนให้ใคร เส้นสายที่ไหน ทำไมจึงต้องมีผู้มีอิทธิพล เพราะหน่วยงานรัฐไม่ใช่หน่วยงานที่ประชาชนพึ่งได้ 6% บอกจ่ายเพราะถูกบังคับ 64% เป็นฝ่ายออกปากว่าจะจ่าย 34% จ่ายเพื่อประหยัดเวลา เป็นการซื้ออภิสิทธิ์ให้ได้มากกว่าคนอื่น

อีกบริบทในความเห็นคนไทยมองคำว่าโกง กับ คอร์รัปชัน แตกต่างกัน และมีผลแตกต่างต่อการต่อต้านคอร์รัปชัน มีกฎหมายเกี่ยวกับสินบนนำจับ กรณีผู้กำกับโจ้ มีรายได้จากสินบนนำจับเยอะแยะ แต่มีรถนำเข้าหลายคัน จับแล้ว มาประมูลซื้อเอง แต่ทุกวันนี้รางวัลสินบนนำจับมี 132 ฉบับ ป.ป.ช. คัดค้านตั้งแต่ปี 2555 วันนี้มีแผนปฎิรุปประเทศการต่อต้านคอร์รัปชันปี 2561 ไม่มีการปรับแก้อะไรเลย แต่ไปฝากเรื่องไว้กับกรมศุลกากร

งานวิจัย เวลากำหนดมาตราการต่อต้านคอร์รัปชัน ต้องมีองค์ความรู้ ที่ดีที่สุดคือมาจากประสบการณ์จริง และการศึกษาวิจัย ซึ่งไทยมีน้อยมาก แต่ที่น่าดีใจเมื่อดูช่วง 20 กว่าปีย้อนหลังคือกระแสการตื่นตัวของประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ ภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นทวีคูณ ดูจากงานศึกษาวิจัยที่ออกมาและได้ทุนจากภาครัฐ

กฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันมี 15 ฉบับ เพื่อการปฏิรูป 10 ฉบับ แต่สิ่งที่คาดหวังในการปฏิรูปยังไม่เห็น สิ่งที่อยากเห็นคือกฎหมายที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ถูกเตะถ่วงตลอดจากผู้มีอิทธิพลในการออกกฎหมาย และที่อยากได้คือกฎหมายการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐอย่างโปร่งใส ยังไม่เป็นจริง การแก้ไขกฎหมายจึงขัดกัน สำนักนายกฯ บอกกฎหมายดีอยู่แล้ว ขณะที่ส่วนอื่น ทั้ง ส.ส., วุฒิสภา สื่อมวลชน คณะกรรมการปฏิรูปและทุกส่วนบอกให้สำนักนายกฯ แก้ แต่กลับไม่ไปไหน หน่วยงานเดียวยันกับคนทั้งประเทศไทย คือหน้าเพียงกฎหมายจาก ป.ป.ช. ที่ป้องกันการเปิดโปง

 

ด้าน ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวผ่านระบบออนไลน์ ว่า จุดสำคัญหนึ่งคือเหตุการคอร์รัปชันมีความซับซ้อน พยายามแก้ไขก็ยากเพราะมีลำดับซับซ้อน การแก้ไขต้องมองรอบด้านคืองานวิจัยทางวิชาการ เรื่องคอรัปชันเราทำค่อนข้างน้อย เครื่องมือที่ทั่วโลกใช้ต่อต้านคอร์ปชันและธรรมาภิบาล มีจุดร่วมที่น่าสนใจคือ สิ่งที่มาจากงานวิชาการ จากการพรีวิว เครื่องมือทั่วโลก มี 30 เครื่องมือต้านโกง มีปัจจัยที่คล้ายกัน คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน รายงานคอร์รัปชันได้อย่างปลอดภัย , การเปิดข้อมูลที่โปร่งใส ให้ประชาชนรู้ สืบค้นง่าย ข้อมูลได้มาตราฐาน , สร้างกลไกความรับผิดชอบได้ คือประชาชนติดตามข้อร้องเรียนได้ ภาครัฐร่วมแก้ไข สื่อมวลชนติดตามได้

30 กว่าเครื่องมือหรือมากกว่านั้น ยกตัวอย่าง ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ประเทศพัฒนามาก เป็นการกระจายตัว ไม่กระจุก แอฟริกา เอเชีย ประเทศเพื่อบ้านก็มีเยอะ ว่าไม่จำเป็นมีปัจจัยว่าประเทศไทนทำสำเร็จได้ แต่ถ้าเราทำความเข้าใจและนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาเครื่องมือมันทำได้เสมอ

5 ประเภทนวัตกรรมต้านโกง คือ การติดตามตรวจสอบภาครัฐ, การติดตามตรวจสอบงบประมาณ, การตรวจสอบคอร์รัปชัน, การร้องเรียนคอร์รัปชัน และสุดท้ายคือ การให้ comment จากภาคประชาชน เป็นการ review การให้บริการ

ตัวอย่าง แพลตฟอร์ม DevelopmentCheck บอกว่าคนที่น่าจะช่วยได้เยอะคือประชาชน ด้วยการให้ข้อมูล เพิ่มทักษะ ศักยภาพให้ประชาชน ติดตามตรวจสอบได้ โครงการนี้ลองเป็น หมวด ที่ประสบความสำเร็จคือภาคการศึกษา การสร้างโรงเรียนไม่สำเร็จ ล่าช้า แต่ใช้งบประมาณสูง แต่เป็นพื้นที่ที่มีคนเห็นตลอดเวลา และให้ความสนใจมากจากประชาชน เพราะลูกหลานต้องใช้อาคารนี้ มีการเปิดเผยทุกอย่างและบังคับให้โรงเรียนเปิดบอร์ด ทุกอย่าง เพื่อให้เห็นและตรวจสอบง่ายขึ้น ผู้ปกครองรู้สึกถึงการมีส่วนร่วม โดยมีผู้เชี่ยวชาญดูรูปแล้วให้ถ่ายรูปส่งดูให้หน่อย ปรากฎว่าการก่อสร้างโรงเรียนสร้างเสร็จก่อนเวลา 90% เป็นการตรวจสอบโครงการได้ทั้งประเทศโดยไม่ต้องเดินทาง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญมากกว่าเทคโนโลยีคือ กลไก ที่เห็นว่า จุดไหนที่มีความเสี่ยง จุดไหนคือโอกาส

ยูเครน มีเครื่องมือการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง ให้ประชาชนติดตามตรวจสอบการใช้งบประมาณท้องถิ่น เป้าหมายคือป้องกันการนำงบประมารไปใช้ไม่ถูกต้อง เป็นแอพพลิเคชั่น The Repair Map เป็นการติดตามว่างบประมาณจากภาษีแต่ละปีนำไปใช้อะไร อย่างมีประสิทธิภาพ

แพลตฟอร์ม Open Spending ของสหราชอาณาจักร ให้ประชาชนติดตามตรวจสอบโครงการ และงบประมาณ มาเปิดเผยในเวปไซต์ ให้ประชาชนดาวน์โหลดและไปสร้างเครื่องมือ Data ต่อไปเองได้ ในโปแลนด์ มีแอพพลิเคชั่น Jawnylublin มีฟังก์ชั่น My Taxes ที่ผู้ใช้งานสามารถใส่เงินเดือนลงไปแล้วจะแจกแจงมาว่า เงินภาษีของเรานั้นถูกนำไปใช้อะไรบ้าง

FUNES เป็นแอพลิเคชั่นใน เปรู เปิดข้อมูลให้ประชาชนตรวจสอบได้เลย ให้ประชาชนทดลองทำเอง แล้วก็ปรากฎจะว่า โครงการไหนมีความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชั่น จึงมีความเชื่อมโยงของรัฐและประชาชน ที่แมกซิโก หรือ แอฟริกาใต้ ก็มีแอพพลิเคชั่น ให้ประชาชนรายงานการทำหน้าที่ของตำรวจ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกกลั่นแกล้ง จะรายงานผลเป็น Hotspot ออกมาว่าจุดไหนบ้างที่โดนร้องเรียนมาก ทำให้การตรวจสอบมีประสิทธิภาพ

ที่ฟิลิปปินส์ มี Check My School เป็นแอพพลิเคชั่น ที่มีหลักการ ไฟกัสไปที่โรงเรียนและดึงการมีส่วนร่วมจากชุมชน หมู่บ้านข้างเคียง และให้ความสำคัญกับนักเรียนมาก ทำให้ได้ฝึกการใช้เครื่องมือ และความโปร่งใสให้นักเรียน

ในเวียดนาม มีแอพพลิเคชั่น DA NANG Citizen App ให้ประชาชนแจ้งปัญหาที่เป็นสาธารณะร่วมกันในเมืองดานัง และร้องเรียนการทุจริต มีผู้ใช้งานประมาณ 3 แสนคน ในระดับเมือง และประสบความสำเร็จเยอะมาก ระบบง่ายต่อการใช้งาน

สรุปปัจจัยความสำเร็จของเครื่องมือต้านโกงจากต่างประเทศ ทำให้เห็นช่องทางที่หลากหลายในการสร้างเครื่องมือในประเด็นนั้นๆ ได้ชัดเจน มีช่องทางหลากหลาย มีระบบติดตามผลเพื่อสร้างความเชื่อมั่น นำเสนอผลประเมินสู่สาธารณะ และส่งเสริมให้นำผลประเมินหรือการรายงานเป็นส่วนหนึ่งของ kpi ของหน่วยงานราชการ

ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค กล่าว่า งานวิจัย ว่าได้ผลจริงหรือไม่ และน่านำไปใช้ในหน่วยงาน โดยร่วมก่อตั้ง วิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันและการสร้างธรรมาภิบาล เป็นแอพพลิเคชั่น AI ตรวจสอบข้อมูล ชื่อ เวปไซต์ actai.co เช่น มีการขุดลอกคลอง เราสงสัยก็ search คำว่าขุดลอกคลอง ก็จะขึ้นมาให้เลือกดูโครงการได้เลยว่าอันไหน งบประมาณเท่าไหร่ หน่วยงานไหน สถานะโครงการ ใครรับจ้าง และหากอยากรู้มากกว่านั้นก็เก็บข้อมูลสัญญา ประกาศเชิญชวน การเสนอราคา TOR สามารถดาวน์โหลดได้เลย เป็นการเอาข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างจริงมานำเสนอให้ แต่เปลี่ยนชื่อบริษัท เป็น  AAA, BBB หรือ CCC จะเห็นการเสนอราคากลางทั้งหมด จะเห็นว่ามีความเสี่ยงหรือไม่

การคอร์รัปชันเกี่ยวข้องกับอภิสิทธิ์ชน ระบบอุปถัมป์ การเมือง เราก็สามารถเข้าไปดูว่าผู้บริหารบริษัทที่ได้รับงาน เป็นใคร เกี่ยวข้องกับนักการเมืองหรือหัวหน้าหน่วยงานเจ้าของโครงการนั้นหรือไม่ เคยรับงานหน่วยงานรัฐกี่โครงการ พื้นที่ไหนบ้าง ทั้งหมดนี้เป้นการติดอาวุธให้ประชาชน ยกตัวอย่าง เสาไฟกินรี ตอนแรกที่เป็นข้าวก็เพราะมีประชาชนเปิดใน แอพ AI แล้วไปเจอ รู้สึกไม่พอใจแล้วโพสต์ไปเฟสบุค

งบประมาณเป็นเรื่องสำคัญ การใช้งบฉุกเฉินที่หาผลประโยชน์มากที่สุด เช่น งบโควิด 4 แสนล้าน และมีการประเมินโดยนำข้อมูลจากสำนักงาน ป.ป.ท. ว่าที่ไหนเสี่ยงทุจริตมาก จะเป็นแถบสีแดง และมีโครงการอะไรบ้าง งบเท่าไหร่ เกี่ยวข้องกับใคร เป็นการติดอาวุธให้ประชาชน เปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในหลักการ มีส่วนร่วม โปร่งใส รับผิดชอบ สิ่งที่จะช่วยมาก คือผู้มีอำนาจ ที่ต้องเปิดใจและเปิดกว้าง ให้เกิดการมีส่วนร่วม ข้อมูลที่สำคัญมากที่ต้องใกล้ตัว เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ต้องประชาชนมีส่วนร่วม และรู้สึกว่านี่คืองบประมาณและเงินของเขา ข้อมูลจึงมีความสำคัญมากที่ต้องมีให้คนเห็น วันนี้สิ่งที่ต้องการคือความร่วมมือของทุกท่านที่เห็นดอกาสในการใช้เครื่องมือนี้ หรือสร้างเครื่องมือใหม่ เป็นการมองเห็นโอกาสร่วมกัน

ย้ำไม่จำเป็นต้องรอประกาศเป็นวาระแห่งชาติ จากหน่วยงานกลาง แต่หน่วยงานท่านสามารถดำเนินการได้เลยในการจัดซื้อจัดจ้าง ด้วยการสร้างระบบธรรมาภิบาลที่ดี เริ่มที่ตัวท่าน กับเปิดใจ

ดร.มานะ นิมิตรมงคล กล่าวว่า สภาพัฒน์เป็นหน่วยงานที่เปิดเผยข้อมูลได้ดีและประมวลผลได้ เป็นข้อมูลที่ดีที่สุดในประเทศไทยเวลานี้ และสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ ยกตัวอย่างโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมสนามบิน ทำสัญญากับ ซีพีถึง 3 ปี เพราะคนของรัฐมีความรู้ และเห็นข้อมูล ค่าโง่เกิดขึ้นเสมอ เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่มีทางทันได้ นอกจากมีภาคเอกชนเข้ามาเสริมเรื่ององค์ความรู้

การจัดทำข้อตกลงคุณธรรม พบอุปสรรคใด นั้น เรื่องการเปิดเผยข้อมูลหลายประเทศใช้ได้ประโยชน์ แต่อุปสรรคคือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐใช้แล้วไม่เข้าใจ ก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ที่แย่คือ กทม. กับทหาร สักหน่วยหนึ่ง กทม. โครงการขยะหนองแขม อ่อนนุช พอถึงเวลาถอนตัว ไม่ให้ข้อมูลเลย โครงการมีปัญหาที่รองผู้ว่า กทม. 2 คนลาออก เพราะไม่ยอมเซ็นต์สัญญา เรื่องการหารายได้จากการเผาขยะ และโครงการทหารอันหนึ่งที่ถอนออกไป ถ้าไม่ร่วมมือเราก็ไม่ได้อะไร และเจอปัญหานักการเมืองขวางบทบาทผู้สังเกตการณ์ ก็เป็นอุปสรรคมาก

เรื่อง TOR ถ้ามีปรากฎในระบบ แอพพลิเคชั่น AI ทุกคนก็จะเห็น ปัญหาคือข้อมูลที่ส่งส่งเข้าไปในระบบ E bidding ของกรมบัญชีกลาง ยังเป็นระบบเช่น Jpeg และเป็นข้อมูลลวง ซ่อนอยู่ในโครงการ เช่น เสาไฟพญานาคคู่ของกรมชลประทาน เป็นโครงการซ่อนที่ไม่ห็น tor และยังมีปัญหาการล็อคสเปกในสังคมไทย

 

:: เอกสารสำหรับดาวน์โหลดและไฟล์ที่เกี่ยวข้อง ::

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้