สปอตวิทยุก้าวสู่ดิจิตอลทีวี

Last updated: 12 ธ.ค. 2560  |  3991 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สปอตวิทยุก้าวสู่ดิจิตอลทีวี

สวัสดีครับ วันนี้ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ดิจิตอลทีวีกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แล้วดิจิตอลทีวี ดีกว่าทีวีระบบเดิมยังไง มาดูกัน...

โทรทัศน์ของประเทศเรา แต่เดิมจะเผยแพร่ออกอากาศในระบบแอนะล็อก(Analog) แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน ด้วยเทคโนโลยี DVB-T2 แล้ว สิ่งที่ได้มาอย่างชัดเจน ก็คือการรับชมทีวี ด้วยคุณภาพสัญญาณที่ดียิ่งขึ้น ทนทานต่อสัญญาณรบกวนต่างๆคุณภาพความคมชัดที่เหนือกว่าระบบอื่นๆ ทั้งในแบบของ SD (576i) และสูงสุดในระดับ HD (Full HD 1080i) อัตราส่วนภาพแบบจอกว้าง(Widescreen 16:9) ระบบเสียงที่ดียิ่งขึ้น และข้อดีอื่นๆ อีกมากมาย สิ่งที่ได้มาอีกอย่างก็คือ จำนวนช่องรายการโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ที่มีเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่เคยมีเพียง 6 ช่อง ก็จะมีเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นถึง 48ช่อง ครั้งแรกของฟรีทีวีไทยที่แบ่งหมวดหมู่เนื้อหาการรับชมให้เหมาะสมกับผู้ชมทุกกลุ่มเป้าหมาย

ประเภทบริการธุรกิจ 24 ช่อง

-หมวดเด็กและเยาวชน 3 ช่อง
-หมวดข่าวสารและสาร 7 ช่อง
-หมวดรายการทั่วไปความคมชัดปกติ7

ช่อง -หมวดรายการทั่วไปความคมชัดสูง7 ช่อง

ประเภทบริการชุมชน 12 ช่อง (*ปัจจุบันให้บริการแล้ว 27 ช่อง ณ ก.ย. 57) และนี่ก็คือ ข้อดี ของดิจิตอลทีวี ดูดีทุกบ้าน ที่ กสทช. อยากมอบให้คนไทยทุกคน

การรับชมดิจิตอลทีวี มีประโยชน์อย่างไรกับ ประชาชน

โทรทัศน์ของประเทศเรา แต่เดิมจะเผยแพร่ออกอากาศในระบบแอนะล็อก(Analog) แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิตอล (ระบบ DVB-T2)แล้ว สิ่งที่ได้มาก็คือ

ข้อดี ของดิจิตอลทีวีภาคพื้นดินที่เด่นชัด ทางเทคนิคคือ ประชาชานสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ด้วยสัญญาณแบบดิจิตอลที่มีคุณภาพดีกว่าการรับชมทีวีในระบบอื่นๆ มาก

- รับชมสัญญาณในแบบดิจิตอลภาคพื้น มีคุณภาพทั้งภาพและเสียงที่ดีกว่า การรับชมในระบบอื่นๆมาก
- เป็นรายการโทรทัศน์ไม่มีค่าใช้จ่ายในการรับชม (ฟรีทีวี) ที่ภาพคมชัดสูงสุดระดับ HD (Full HD 1080i)
- ภาพเป็นแบบwidescreenจอกว้าง อัตราส่วน 16:9 เหมาะสำหรับเครื่องรับโทรทัศน์จอแบนทั้ง Plasma LCD LED รวมถึงเครื่องรับโทรทัศน์แบบ Smart TV และ Internet TV ด้วย
- คุณภาพเสียงที่ดีและสมจริงยิ่งขึ้น
- ทนทานต่อสัญญาณรบกวน ไม่มีปัญหาเรื่องภาพล้ม ภาพลายจุด ภาพซ้อน หรือ คลื่นแทรก
- ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ไม่กลัวฟ้าฝน แม้สภาพอากาศไม่ดี หรือท้องฟ้าปิด ก็ทนทาน สามารถรับชมได้
- ไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหา จอดำ เนื่องจากลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด เพราะถือว่าเป็นระบบการแพร่ภาพโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในแง่ของเนื้อหาการรับชม
- ช่องรายการทีวีแบบดิจิตอลที่เกิดขึ้นใหม่ เป็นรายการโทรทัศน์แบบฟรีทีวีไม่มีค่าใช้จ่ายในการรับชมแต่อย่างใด
- ประเทศไทย มีช่องรายการฟรีทีวีเพิ่มมากขึ้นจากเดิมเคยมีเพียง 6 ช่อง ก็มีเพิ่มมากขึ้นสูงสุดเป็น 48 ช่อง ทำให้ประชาชานมีทางเลือกในการรับชมเพิ่มมากขึ้น (ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 27 ช่อง)
- มีการควบคุมสัดส่วนในการนำเสนอเนื้อหาและโฆษณา โดย กสทช.
- เป็นระบบโทรทัศน์ระบบเดียวที่มีการรวมตัวกันของบริษัทชั้นนำของวงการโทรทัศน์ไทย ทั้งในเรื่องของประสบการณ์ ความชำนาญ ตลอดจนความคิดสาร้างสรรค์ ทำให้มีการผลิตเนื้อหาที่และหลากหลายให้รับชม ทั้งเนื้อหาสาระ ข่าว บันเทิง ละคร เกมโชว์ สารคดีส่งเสริมความรู้
- เป็นครั้งแรกที่ช่องรายการแบบฟรีทีวีของไทยมีการจัดแบ่งหมวดหมู่เนื้อหาในการรับชม เหมาะสมกับผู้ชมทุกกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

ช่องรายการประเภทบริการสาธารณะ 12 ช่อง ประกอบไปด้วย

1 ช่อง 5 HD1
2 ช่อง 11 HD
3 ช่อง TPBS HD
4-12 ยังไม่เปิดให้บริการ

ช่องรายการประเภทบริการธุรกิจ 24 ช่อง ประกอบไปด้วย หมวด ช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว

13 ช่อง 3 Family
14 ช่อง MCOT Kid&Family
15 ช่อง LOCA หมวด ช่องข่าวสารและสาระ
16 ช่อง TNN24
17 ช่อง ไทยทีวี
18 ช่อง new tv
19 ช่อง Spring News
20 ช่อง Bright TV
21 ช่อง Voice TV
22 ช่อง Nation

หมวด ช่องรายการทั่วไป ความคมชัดปกติ (SD)

23 ช่อง Workpoint TV1
24 ช่อง true4U
25 ช่อง GMM Channel
26 ช่อง Now26
27 ช่อง 8
28 ช่อง 3 SD
29 ช่อง MONO 29

หมวด ช่องรายการทั่วไป ความคมชัดสูง (HD)

30 ช่อง MCOT HD
31 ช่อง one HD
32 ช่อง ไทยรัฐ TV HD
33 ช่อง 3 HD
34 ช่อง AMARIN TV HD
35 ช่อง 7 HD
36 ช่อง PPTV HD

ช่องรายการประเภทบริการชุมชน 12 ช่อง

37 - 48 ยังไม่เปิดให้บริการ ซึ่งจะมีจุดเด่นคือ เป็นเสมือนช่องประจำภูมิภาค
1. 12 ช่องรายการชุมชนประจำภาคกลาง เมื่อรับชมในพื้นที่ ภาคกลาง
2. 12 ช่องรายการชุมชนประจำภาคเหนือ เมื่อรับชมในพื้นที่ ภาคเหนือ
3. 12 ช่องรายการชุมชนประจำภาคอีสาน เมื่อรับชมในพื้นที่ ภาคอีสาน
4. 12 ช่องรายการชุมชนประจำภาคใต้ เมื่อรับชมในพื้นที่ ภาคใต้

ดาวน์โหลด สปอตวิทยุเปลี่ยนสู่ดิจิตอลทีวี MP3 

 

 

ท่ีมา : สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้