ประชาชาติจัดสัมมนา "เปลี่ยน...ให้ทันโลก New World New Opportunity New Business"

Last updated: 12 ธ.ค. 2560  |  2050 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประชาชาติจัดสัมมนา "เปลี่ยน...ให้ทันโลก New World New Opportunity New Business"

เปิด 4 มุมมองภาคธุรกิจ รับมือการเปลี่ยนแปลงของโลก ยอมรับ ในอีก 10 ปีข้าง เทคโนโลยีและนวัตกรรม จะเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจมากขึ้น ดังนั้น “ข้อมูล” จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าถึงตลาดทั่วโลก พร้อมมองว่า หากไม่ปรับตัวท้ายที่สุดจะถูกแซง เพราะแข่งขันไม่ได้ ขณะที่ ภาครัฐ เชื่อ EEC จะเปลี่ยนโครงสร้างลงทุนไทย

        เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2560 หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ จัดงานสัมมนา "เปลี่ยน...ให้ทันโลก New World, New Opportunity, New Business" ณ ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ปาฐกถา พร้อมด้วย นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี, นายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรีคอนซูเมอร์, นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมเสวนาพิเศษ

        ในเวทีสัมมนา  เปลี่ยน...ให้ทันโลก New world , New opportunity , New Business  ซึ่งจัดโดย หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ  นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ Road Map EEC คลื่นลูกใหม่ลงทุนไทย โดยระบุว่า โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC คือ เครื่องมือหนึ่งในการลงทุนของไทย เพื่อต่อสู้กับเศรษฐกิจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง หากไทยไม่ลงมือทำ อันดับการเติบโตของประเทศจะตกจากอันดับที่ 20 มาอยู่ที่  25  โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การลงทุนขยายตัวแค่ร้อยละ 2.9  ขณะที่ จีน สูงถึงร้อยละ 20 ซึ่งเชื่อว่า หากเดินหน้า EEC ได้ตามแผนจะเม็ดเงินลงทุน 3 แสนล้านบาทต่อปี  ผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 4.5-5

        สำหรับวงเสวนาหัวข้อ “เปลี่ยนให้ทันโลก New world , New opportunity , New Business” ผู้เข้าร่วมเสวนาต่างเห็นตรงกันว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรม จะเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจมากขึ้น โดยมุมมองของ นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เห็นว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า ธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทัน  ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ผู้ผลิตอย่างเดียว ต้องให้คำปรึกษา แก้ปัญหา เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด  

        สอดคล้องกับมุมมองของ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ชี้ให้เห็นว่า โลกของธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลง โดยในปี 2559 ธุรกิจชั้นนำของโลก 5 อันดับแรก อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยี และดิจิทัล เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้ใช้ความเร็วเข้าถึงคนทั่วโลก ดังนั้น การทำธุรกิจจะต้องลงมือทำอย่างรวดเร็วอาศัยเทคโนโลยี การเชื่อมโยงข้อมูล ที่ถูกต้อง และมากพอ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่ทั่วโลก  สำหรับไทย ซึ่งกำลังก้าวสู่ยุค 4.0  การพัฒนาไม่ใช่แค่กลุ่มที่เข้าถึงเทคโนโลยี แต่ต้องรวมถึงการพัฒนาภาคการเกษตร  ทั้งนี้ หากไทยไม่เร่งพัฒนา ท้ายที่สุด ประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย จะวิ่งแซงหน้า

        ขณะที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ มองว่า เทคโนโลยีที่เข้ามาไม่ได้มีด้านดีเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับมืออีกด้าน  โดยเฉพาะ การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ผลักดันให้เกิดอารมณ์ร่วมและเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว  พร้อมเห็นด้วย หากไทยจะหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ต้องใช้นวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา และผลิตสินค้าคุณภาพ

        ด้านนายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรีคอนซูเมอร์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ยอมรับ ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารมีความกดดันในหลายด้าน ทั้งเรื่องของพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป กฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้น ความซับซ้อนของระบบคอมพิวเตอร์ และความปลอดภัยทางการเงิน การปรับตัวของธุรกิจธนาคาร คือ การนำนวัตกรรมทางการเงินมาใช้ ไปพร้อมๆกับ การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และลดต้นทุนของธุรกิจ

 

คณิศ แสงสุพรรณ

“..การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ก็คือการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ภาค 2 และสนามบินอู่ตะเภา ถือเป็นกระดูกสันหลังของโครงการนี้ การลงทุนใน EEC ทั้งภาครัฐและเอกชน คาดว่าจะมีเม็ดเงินอย่างน้อย 1.5 ล้านล้านบาท หรือ 4.38 พันล้านเหรียญ ภายใน 5 ปีแรก ซึ่งขณะนี้มีทั้งหมด 15 โครงการ ใน 4 กลุ่มธุรกิจ จะดำเนินการ 5 โครงการก่อนในปี 2560 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนราว 3-4 แสนล้านบาท ที่จะต้องมีการทำสัญญา เพื่อให้ดำเนินการได้เร็วตามเป้าหมาย..”

…เฟสแรก เป้าหมายคือให้สนามบินเกิด จากนั้นภายใน 8 เดือน ต้องมีการประกวดราคา ในพื้นที่เป็นแอร์พอร์ตซิตี้ให้ได้ อย่างน้อยต้องมีทีโออาร์ชัดเจน รถไฟความเร็วสูงต้องเปิดประมูลให้ได้ รวมถึงประมูลท่าเรือสำหรับพัฒนาสนามบินอู่ตะเภามาใช้ในเชิงพาณิชย์ และเล็งทำเลการจัดรูปเมืองไว้แล้ว ว่า…” ?

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส

“..ผมพยายามทำความเข้าใจว่าธุรกิจเราเป็นยังไงบ้าง ต้องยอมรับว่าผมคุ้นกับธุรกิจแค่บางตัว ไม่ได้ทุกประเภท..ตอนนี้เอสซีจีมีพนักงาน 5.1 หมื่นคน อยู่ในเมืองไทย 3 หมื่นกว่าคน อยู่ต่างประเทศอีก 1.6 หมื่นคน ซึ่งเรื่องคนเป็นทั้งงานหนักและเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรที่เราให้ความสำคัญสูงสุด

…แผนธุรกิจ ตลาดหลักยังคงเป็นอาเซียน 10 ประเทศ  เฉลี่ยงบลงทุนปีละ 5 หมื่นล้านบาท เป็นเป้าที่มีความยืดหยุ่นสูง ขณะเดียวกัน ตลาดส่งออกภูมิภาคอื่นทั่วโลกก็ไม่ได้ละเลยเพราะ…” ?

ศุภชัย เจียรวนนท์

“..ผมไม่ได้เข้ามาเพื่อพลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน อะไรที่ดีอยู่แล้วก็ปล่อยให้ทำกันไป อะไรที่อ่อนแอก็ต้องเสริม นอกเหนือจากธุรกิจที่กำลังทำอยู่ ก็ยังต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ใระยะยาว ซึ่งทั้งคุณธนินท์และพี่ชายผมเข้ามาช่วยกัน เราพูดกันถึงธุรกิจขนส่งสินค้า เทคโนโลยี หุ่นยนต์ และธุรกิจอาหารชีวภาพ…แม้ผมจะนั่งเก้าอี้ซีอีโอใหญ่ แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมาก และหวังเพิ่มประสบการณ์ให้ตัวเองได้มากกว่านี้

หากเราต้องการจะก้าวสู่การเป็นประเทศ 4.0 ก็ต้องคิดแบบครอบจักรวาลจริงๆ ไม่ใช่แค่…” ?

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

“..โลกธุรกิจทุกวันนี้ต้องแข่งขันกันที่อินโนเวชั่น การเลือกทำเลก็เป็นอินโนเวชั่นอย่างหนึ่ง เซอร์วิส โปรดักต์พรีเมียม อีโคโนมี ก็เป็นอินโนเวชั่นทั้งนั้น..วินาทีนี้ทุกคนต้องปรับตัว อย่างแรกเลยคือต้องปรับวิธีคิด ในแง่องค์กรธุรกิจใหญ่ๆ เขาปรับกันไปพักใหญ่แล้ว แต่ในมุมมองรวมๆ ผมห่วงว่าจะมีคนตกรถเยอะ นั่นหมายถึง คนส่วนใหญ่อาจไม่เข้าใจหรือไม่ได้เดินไปด้วยกัน จึงห่วงว่าแล้วพวกเขาจะทำอย่างไรกับ 4.0 ในรูปแบบไหน คนทั้งประเทศ

จะรับมือกับ “จุดเปลี่ยน” ตรงนี้ได้อย่างไร…เหมือนลงทุนอสังหาฯ ต้องดู…” ?

 ชมวีดีโอผ่านยูทูป : https://youtu.be/SqTfjYoBYC8

 


ต้นฉบับ : http://www.matichon.co.th และ http://www.prachachat.net/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้