จะซื้อปลั๊กพ่วงเช็คหรือยัง? ผ่าน มอก.ปลั๊กพ่วงฉบับล่าสุดหรือเปล่า

Last updated: 4 มี.ค. 2561  |  8081 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จะซื้อปลั๊กพ่วงเช็คหรือยัง? ผ่าน มอก.ปลั๊กพ่วงฉบับล่าสุดหรือเปล่า

ปลั๊กพ่วงแบบไหนผ่าน-ไม่ผ่านมอก. พร้อมรายละเอียดมอก.ปลั๊กพ่วงที่เราควรรู้

ต้องยอมรับว่า “ปลั๊กพ่วง” ที่เราใช้งานกันทั่วไปนั้นเคยเป็นต้นเหตุของไฟไหม้ ไฟช็อต อาจเพราะเสียบปลั๊กไฟหลายปลั๊กพร้อมกันบนรางเดียว สินค้าไม่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นที่มาของคำถามที่หลายคนสงสัยว่าปลั๊กพ่วงที่ได้มาตรฐานนั้นคือยี่ห้ออะไร และต้องมีลักษณะแบบไหน ด้วยเล็งเห็นถึงความปลอดภัยและเพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายต่างๆ สมอ. หรือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจึงกำหนด มอก.ปลั๊กพ่วงหรือมอก.2432-2555 ขึ้นมาเพื่อกำหนดมาตรฐานสินค้าประเภทนี้ ซึ่งมีผลกำหนดใช้ไปวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 โดยถือเป็นครั้งแรกของการมีมอก.ปลั๊กพ่วงในบ้านเรา เพราะก่อนหน้านั้นปลั๊กพ่วงในบ้านเรานั้นไม่เคยมี มอก. ปลั๊กพ่วงรับรองเลย แต่ที่เราเห็นว่ามีสัญลักษณ์ มอก.ติดรับรองบนปลั๊กพ่วงต่างๆ นั้น สัญลักษณ์เหล่านั้นไม่ใช่มอก.ปลั๊กพ่วงโดยเฉพาะ แต่เป็นการอ้างอิงมอก.สายไฟบ้าง มอก.เต้าเสียบบ้าง มอก.สวิตซ์บ้าง

ปลั๊กพ่วงแบบไหนผ่าน-ไม่ผ่านมอก. พร้อมรายละเอียดมอก.ปลั๊กพ่วงที่เราควรรู้

1.มอก.ฉบับนี้บังคับใช้กับปลั๊กพ่วงแบบหยิบยกได้รวมถึงชุดสายพ่วง
2.ขอบข่ายการใช้คือ มากกว่า 50V แต่ไม่ถึง 440V และขอบข่ายของแอมแปร์ห้ามมากกว่า 16A สำหรับการใช้งานภายในและภายนอกอาคาร
3.มาตรฐานการใช้งานปลั๊กพ่วงคืออุณหภูมิภายนอกห้ามเกิน 40 องศาองศาเซลเซียสและถ้าใช้งาน 24 ชั่วโมง อุณหภูมิเฉลี่ยโดยรอบห้ามเกิน 35 องศาเซลเซียส

 

 

4.กำหนดให้หัวปลั๊กต้องใช้เป็นแบบ 3 ขา มอก.166-2549 เท่านั้น

 

 

5.ตัวบอดี้ จะต้องเป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟ หรือใส่สารกันลุกติดลามไฟ

 

 

6.ตัวเต้ารับจะต้องมีม่านชัทเตอร์ปิดรูปลั๊กทุกเต้า

 

 

7.ปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับตั้งแต่ 3 เต้าขึ้นไป จะต้องมีตัวตัดไฟ อาจจะเป็นแบบ RCBO หรือระบบ Thermal โดยห้ามใช้ระบบฟิวส์

 

 

8.สายไฟ สามารถใช้มาตรฐานมอก. 11-2553 หรือ มาตรฐานอื่นที่สอดคล้องกับ มอก.955 ได้
9.เต้ารับทุกเต้าจะต้องมีส่วนที่สัมผัสลงดินจริง ห้าม! ทำกราวด์หลอกอีกต่อไป
10.พื้นที่หน้าตัดสายไฟ และความยาว การรองรับไฟ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานตารางด้านล่าง

11.การเชื่อมต่อ L - N และ G ต้องเป็นไปตามมาตรฐานของประเทศไทย
12.ถ้ามีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวิตช์ ตัวกรองความถี่ อุปกรณ์กันแรงดันเกิน ควรได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้วย


 

7 วิธีเลือกซื้อ "รางปลั๊กไฟ" ให้ปลอดภัย

 

 

  1. มีสัญลักษณ์มาตรฐานมอก.2432-2555 เท่านั้น
  2. ขอบข่ายการใช้คือมากกว่า 50V แต่ไม่ถึง 440V และขอบข่ายของแอมแปร์ห้ามมากกว่า 16A (แอมป์)
  3. วัสดุที่ผลิตควรเป็นโพลีคาร์บอเนต คุณภาพสูงไม่ติดไฟ
  4. หัวปลั๊กต้องใช้เป็นแบบ 3 ขา ตัวเต้ารับมีสวิตซ์เปิด-ปิดพร้อมขั้วสายดิ
  5. ต้องมีตัวตัดไฟ และห้ามใช้ฟิวส์เป็นตัวตัดไฟเด็ดขาด
  6. ตัวเต้ารับควรมีม่านเปิด-ปิดช่อง ตามมอก.166-2549
  7. สายไฟต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.11-2553 หรือมาตรฐานอื่นที่สอดคล้องกับมอก.955

มอก.ฉบับนี้บังคับใช้กับปลั๊กพ่วงแบบหยิบยกได้และชุดสายพ่วงที่มีจำหน่ายในไทย เริ่มตั้งแต่ 24 กุมภาพันธ์ 2561

สำหรับผู้ค้า หลังจากมอก. ปลั๊กพ่วงมีผลบังคับใช้สินค้าสต็อกเก่า สามารถจำหน่ายได้จนหมด แต่ห้ามนำเข้าสต็อกใหม่ หรือห้ามผลิตใหม่ถ้าไม่ได้รับตราเครื่องหมาย มอก.หากพบว่ามีการกระทำผิดจะถูกดำเนินคดีทางกฎหมายทันที สำหรับบทลงโทษในกรณีทำหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ร้านค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และแสดงเครื่องหมาย มอก.โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก 3 เดือน ปรับตั้งแต่ 100,000-1,000,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มองแล้วถือเป็นผลดีของผู้บริโภคที่จะได้มีความเชื่อมั่นกับการเลือกซื้อปลั๊กพ่วงในอนาคต เนื่องจากมอก.ฉบับนี้ทำให้ผู้ผลิตและผู้ค้าต้องหาสินค้าที่มีสัญลักษณ์มอก. มาจำหน่าย   

ขอขอบคุณ

ข้อมูล :plugthai
ภาพ :plugthai,istock

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้